ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา(Influenza Virus) ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่แพร่กระจายโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยที่ไอหรือจามเข้าไป รวมถึงการสัมผัสมือและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
ไข้หวัดใหญ่ มีอาการอย่างไรบ้าง?
การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไข้หวัดทั่วไป ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการ
1. มีไข้
2. ไอ เจ็บคอ
3. คัดจมูก
4. น้ำมูกไหล
5. ปวดเมื่อยตามร่างกาย
6. อาเจียน
7. ท้องเสีย
ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไม่รุนแรง มักจะมีอาการดังกล่าว และอาการจะทุเลาลงได้ใน 5-7 วัน แต่ในบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
การรักษาไข้หวัดใหญ่
ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือมีโรคประจำตัว ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะขาดน้ำรุนแรง ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ ช่องหูอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น
ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง สามารถเข้ารับคำแนะนำและรับยารักษาตามอาการจากปพทย์หรือเภสัชกร และสามารถดูแลตนเองได้โดย
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
2. หมั่นเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะ
3. ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ
นอกจากการดูแลตนเองแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ควรมีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น ซึ่งระยะการแพร่เชื้อจะอยู่ในช่วง 3 วันแรกที่เป็น ดังนั้น ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น
ไข้หวัดใหญ่ ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?
1. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
2. ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสผู้ป่วย
3. ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
ที่สำคัญ ควรรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันการเป็นโรคนี้หรือช่วยลดความรุนแรงของโรคเมื่อเป็น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้แก่เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี